เมื่อวันที่ 22 ก.พ.2564 ที่วิทยาลัยเทคนิคพิจิตร อาจารย์ และ นักศึกษาแผนกวิชาช่างไฟฟ้า ต่อยอดคิดค้นประดิษฐ์ ชุดกล่องควบคุมแรงงดันบวก ให้กับทีมแพทย์พยาบาล และ กล่องควบคุมแรงดันลบ สำหรับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ ป้องกันไวรัสโควิด ในสถานบริการทางการแพทย์ ซึ่งดัดแปลง จากวัสดุภายในประเทศ ทั้ง หน้ากากดำน้ำ และ อุปกรณ์ตกปลา มาดัดแปลง ทำชุดกล่องควบคุมแรงดัน แบบเคลื่อนที่แทนการใช้เตียงผู้ป่วยแรงดันลบ
สำหรับชุดกล่องความดันลบ(สีแดง) เป็นชุดกล่องที่ออกแบบมาสำหรับผู้ป่วยฯ ซึ่งทำหน้าที่ นำสารคัดหลั่งไม่ว่าจะเป็นจากการไอ จามและหายใจของผู้ป่วยนั้น ดูดมาภายในกล่อง โดยผ่านหน้ากากดำน้ำ ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ และทำการฆ่าเชื้อด้วยแสง UV-C ที่มีความเข้มแสงตามค่ามาตรฐานที่ทางการแพทย์ยอมรับ จากนั้นนำไปผ่านชุดกรองเชื้อไวรัสแบบไฟฟ้าสถิต ที่สามารถกรองเชื้อไวรัสได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์ พร้อมชุดกรองอากาศ แล้วจึงปล่อยออกสู่อากาศภายนอก
ส่วนชุดกล่องความดันบวก(สีเหลือง) ได้ออกแบบมา เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ได้สวมใส่ เพื่อเข้าทำการรักษาผู้ป่วยโรคติดต่อทางระบบหายใจ (covid-19) ซึ่งทำหน้าที่นำอากาศที่อยู่ ภายนอก หรือพื้นที่อากาศเปิด มาผ่านชุดกรองแบบไฟฟ้าสถิต ที่สามารถกรองเชื้อไวรัสได้ถึง 99.99 เปอร์เซ็นต์แล้วส่งอากาศที่ผ่านการฆ่าเชื้อไวรัสแล้วเข้ามาในหน้ากากที่สวมอยู่กับชุด PE ที่ทางการแพทย์สวมใส่ เพื่อให้แพทย์ผู้สวมใส่มีอากาศที่ปราศจากเชื้อไวรัสและสามารถทำการเข้ารักษาผู้ป่วย ที่สันนิษฐานว่ามีหรือติดเชื้อไวรัสโควิค19
นายสมศักดิ์ หมอแสง อาจารย์แผนกวิชาช่างไฟฟ้า ระบุว่า กล่องควบคุมแรงดันบวก และ แรงดันลบ แบบเคลื่อนที่ ป้องกันไวรัสโควิด ทางวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร อาจารย์ และ นักศึกษาแผนกวิชาช่างไฟฟ้า ต่อยอดคิดค้นประดิษฐ์ จากกล่องต้นแบบ ของ โรงพยาบาลนวมินทร์ มาทำการต่อยอด โดยเพิ่ม วัสดุอุปกรณ์ ที่ง่ายต่อการพกพา เคลื่อนที่ เพื่อเติม หลอดแสง UV-C และ กรองอากาศ ผ่านชุดคอนโทรล ปรับแรงดันด้วยมือ เพื่อความสะดวก กับ ทางคณะแพทย์
การประดิษฐ์กล่องควบคุมแรงดันบวก และ แรงดันลบ ซึ่งทางโรงพยาบาลพิจิตร ได้สนับสนุน ในการประดิษฐ์และ เป็นที่ยอมรับของทางการแพทย์ และมีความสะดวกต่อการทำงานในห้องปฎิบัติการ และ การนำผู้ป่วยออกมาทำการรักษา ส่วนราคา การประดิษฐ์กล่องควบคุมแรงดัน อยู่ ที่ ชุดละ 4000-5000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาที่ถูกว่าท้องตลาด
สำหรับกล่องแรงดันบวกและ แรงดันลบ ซึ่งทางวิทยาลัยเทคนิคพิจิตร ได้ทำการประดิษฐ์ และส่งมอบให้กับโรงพยาบาลพิจิตร จำนวน 26 ชุด รวมถึง ทางคณะครูจากวิทยาลัยสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร มาเรียนรู้ต่อยอดเพื่อทำการผลิตให้กับทางคณะแพทย์ ในพื้นที่ต่อไป
- “แม่สอด”พบผู้ติดโควิด3วัน13ราย
- ดันโคราชเป็นฮอลลีวูดเมืองไทยดึงอินเดียทำหนัง
- สนง.เจ้าท่าคุมเข้มแพ ไม่ปลอดภัยต้องปิด หลังตายวันเดียว 3 ศพ
เรื่องโดย สายยันต์ ชูฉ่ำ | ภาพโดย สายยันต์ ชูฉ่ำ