กลุ่มเกษตรลำไยนอกฤดูภาคเหนือ (เชียงใหม่ -ลำพูน ) กล่าวว่า สถานการณ์ผลผลิตทางการเกษตรตามฤดู
กาลช่วง 1-2 ปี ย่ำแย่หนักต่อเนื่อง ทั้งตลาดขายส่งที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการทางสาธารณสุขช่วงโควิดระบาด ภัยธรรมชาติและปัญหาศัตรูพืช ซึ่งล่าสุดลำไยก็เผชิญกับเรื่องเพลี้ยแป้ง ที่ทำให้ตลาดจีนระงับชลอการค้าขายกัน จนส่งผลให้ราคาร่วงหนักในรอบ 10-20 ปี
นอกจากนั้นผลผลิต ส้มโอที่ปลูกกันแถวๆพิจิตร และแหล่งปลูกในภาคเหนือยังเจอลูกเล่นล้งจีน ที่ สวมสิทธิ์
รับซื้อจากเวียดนามราคาถูกตีตราเป็นของบ้านเรา ส่งไปขายตลาดจีน ทำให้ราคาตลาดปั่นป่วนไปหมด
” แม้ว่า วิสาหกิจชุมชน แต่ละแหล่งผลิต ตลอดจนภาคเอกชน จะดำเนินการตามแนวทางการขอรับรองแปลง
ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและผู้ส่งออกต้องยื่นขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีในการผลิตอาหาร ปัญหาด้านราคา การกำหนด ทิศทางตลาดอยู่ในกำมือล้งจีนไม่กี่กลุ่มที่ผูกขาดสินค้าผลผลิตทางการเกษตรในบ้านเรา”
กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ลำไยสีทอง เมืองลำพูน ระบุว่า การเน้นคุณภาพผลผลิต เจาะตลาดโมเดิร์นเทรด ในไทย
และแปรรูปผลผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มทางการตลาด จะเป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืน ขณะเดียวกัน ชาวสวนลำไย เกษตรกรที่ปลูกพืชผลตามฤดูกาล จะหันมาทำเกษตรผสมผสาน กระจายผลผลิตตามแหล่งค้าส่งในไทย แทนที่จะหันไปพึ่งพิงล้งข้ามชาติ หรือ กลุ่มพ่อค้าคนกลางที่ผูกขาดการรับซื้อผลผลิตในชุมชนผู้แทนสหพันธ์การเกษตรภาคเหนือ เปิดเผยว่า แนวทางช่วยเหลือ เยียวยากลุ่มเกษตรกร ในสถานการณ์ปกติและช่วงโควิด 19 แพร่ระบาด ยังยึดโยงกรอบแนวคิด เรื่องประกันราคา ประกันรายได้ จะเห็นได้จากนโยบายของคณะกรรมการนโยบายสินค้าเกษตรพืช 4 ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และ ยางพาร ถ้าพ่วงปาล์มน้ำมัน เข้ามาก็จะมีเพดานวงเงินประกันรายได้
ราวๆ75,166 ล้านบาทในกลุ่มช่วยเหลือ 7.87 ล้านครัวเรือน แต่ข้อมูลล่าสุดมีการโอนเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้ว 6.964 ล้านครัวเรือน รวมเป็นเงิน 60,041.95 ล้านบาท
” เทคนิคการประกันราคา ผลผลิตเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีข้อเสียที่ เงินตอบแทน ประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับ
จริงๆนั้น เมื่อหักลบกลบหนี้ ตนทุนการผลิต ก็แทบจะไม่เพียงพอต่อการลงแรงเพาะปลูก ทำการผลิตแต่ละฤดูกาล ยกตัวอย่างง่าย ลำไยปีนี้ราคา ตกต่ำ รับซื้อกัน4-5 บาท/กก. ในเกรดเอ ทั้งๆที่ต้นผลิตต่อไร่อยู่ที่17-18 บาท/กก. บรรดาผลผลิต ทุกฤดูกาล แทบจะมีวงจรราคาตกต่ำ ร่วงระนาวหันไปมองการส่งออกก็เจอลูกเล่นการตรวจเข้มในการนำสินค้าเข้าประเทศของตลาดคู่ค้า ซึ่งก็คือจีน ผลผลิตค้าง จนเดือดร้อน เน่าเสียหาย ไม่นับรวมปมปัญหาศัตรูพืช ในขณะที่ผลผลิตในไทยเอง ปีนี้ประกันราคาข้าว เหมือนกันทุกปี หอมมะลิ15,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละ 14 ตัน หอมปทุมธานี 11,000 บาท/ตัน ครัวเรือนละ 25 ตัน ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 8.50 บาท/กก. ไม่เกิน 30
ไร่/ครัวเรือน จ่ายชดเชยสูงสุดไม่เกิน 9,625.50บาท/ครัวเรือน”
กลุ่มเกษตรกร ปลูกข้าว อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า โครงการประกันราคาข้าว จะมีมาตรการเสริมหรือ
มาตรการคู่ขนาน โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี โดยเกษตรกรเก็บยุ้งฉาง ได้รับค่าฝากเก็บตันละ 1,500 บาท โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต๊อก โดยการชดเชยดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา 6 เดือน โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยสนับสนุน 1,000 บาท/ไร่ ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่”ถ้าพื้นที่ แหล่งปลูกใด มีสหกรร์ที่เข้มแข็ง บรรดาชาวนา เกษตรกร ก็แทบไม่ต้องกังวลกับการจัดการผลผลิตในทุกฤดูกาล ขอเพียงใส่ใจดูแลผลผลิต ปลูกให้ได้ตามมาตรฐาน ถึงเวลาเจ้าหน้าที่สหกรณ์ มาดำเนินการ ตามรูปแบบการเข้าร่วมกิจกรรม แต่ละครั้ง แล้วรอรับเงินตามจำนวนผลผลิตเมื่อหักค่าปุ๋ย ค่าใช้จ่ายจิปาถะ ที่สมาชิก ผู้เข้าร่วมโครงการกับสหกรณ์ฯนั้นร่วม
การนำกลไกวิสาหกิจชุมชน กระบวนการสหกรณ์ เข้ามา ในภาคการผลิตของบ้านเรา ในอนาคต น่าจะเป็น
วิธี สร้างความเข้มแข็ง สร้างอำนาจต่อรอง ทางการค้าผลผลิต ผสมผสานกับการหันมาเน้นแปรรูปผลผลิต เพื่อไม่ให้วงจรเดิมๆในภาคการเกษตร ส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และเพิ่มประสิทธฺภาพการใช้งบในโครงการต่างๆด้วย “
ร่วมแสดงความคิดเห็น
- Line